มหาวิทยาลัยภาคกลาง


มหาวิทยาลัยภาคกลาง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนลำดับที่ 19 เพื่อบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน เน้นทางด้านบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า สนองตอบความต้องการของท้องถิ่นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของเยาวชนในเขตภาคกลางและภาคเหนือ และเพื่อแบ่งเบาภาระด้านการจัดการการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของรัฐ นักการศึกษา ของจังหวัด 2 ท่าน คือ ดร.โสภิต สถิรางกูร และอ.สุรีย์ สถิรางกูร จึงได้จัดตั้ง สถาบัน อุดมศึกษาเอกชนชื่อ“วิทยาลัยภาคกลาง” ขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์

แนะนำ ม.ภก.


"มหาวิทยาลัยภาคกลาง" ชื่อนี้เป็นชื่อของสถาบันการศึกษาที่เต็มเปี่ยมไปด้วย คุณภาพ คุณวุฒิ คุณธรรม จากการเริ่มต้นด้วยคณะบริหารธุรกิจเพียงคณะเดียวในปี พ.ศ. 2529 และด้วยพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวคิดเดิมที่จะสนองต่อสังคมการศึกษาในท้องถิ่น จนถึงปี พ.ศ 2537 มหาวิทยาลัยภาคกลางก็ได้สามารถเปิดสอนถึง 5 คณะในปัจจุบัน คือ คณะบัญชี บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ โดยทุกคณะได้รับรองมาตรฐานจากทบวงมหาวิทยาลัย


พัฒนาการทางการศึกษาของ " มหาวิทยาลัยภาคกลาง " ในขั้นต่อมาคือ ในปีการศึกษา 2539 บัณฑิตวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยภาคกลางได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยเปิดการสอนในระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) (Master of Business Administration (MBA)) และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) (Master of Public Administration (MPA))


ความต้องการที่จะพัฒนาในส่วนสำคัญด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อสังคมในวันข้างหน้า จะไม่หยุดนิ่งอยู่เพียงเท่านี้แน่นอน และเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ของทางมหาวิทยาลัยคือผลิตดุษฎีบัณฑิตมหาบัณฑิตและบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปสู่สังคมเพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไป

"The University of Central Thailand ( U.C.T ) located in the province of Nakhonsawan in the central part of Thailand , is the 19th private university authorized by the Ministry of University Affairs.


The University of Central Thailand was established on 14th February 1986 by Mr.Suree and Dr.Sopit Stirankura, then, the owners and administrators of the university. They both have provided the educational services in Nakhonsawan since 1964 ,firstly administered a lower certificate program in a technical field and later a higher certificate program in that area. At present, there are10 educational institutions under there ownership. All specialize in accounting programs and modern technology tools.


U.C.T. started its first two Bachelor' s degree programs : Accounting and Money & Banking on June 19, 1986. At the present time, U.C.T. provides 5 faculties 8 programs in Bachelor’s degree and 2 faculties 2 programs in Master's degree . U.C.T. aims to produce a highly qualified graduates. U.C.T. students will go through a strong academic program in their field area of studies, in addition they will be exposed to computer equipments and modern technology tools. Furthermore, the students are required to attend a tutorial session, syndicate, and an apprenticeship as part of their degree programs.

มหาวิทยาลัยภาคกลาง มีผลงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าหลากหลายด้าน

ด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคกลางตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงกว้างและเชิงลึก อันสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี มีการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ และร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง อย่างต่อเนื่อง


ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยภาคกลางดำเนินภารกิจเป็นศูนย์กลางข่าวสารอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการจัดโครงการอบรม/สัมมนาโดยมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนหลากหลายกลุ่ม ทั้งที่จัดภายในมหาวิทยาลัย และดำเนินการภายนอกมหาวิทยาลัย และเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาการศึกษาตั้งแต่ฐานราก ณ ปัจจุบันได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ในรูปแบบบันทึกความเข้าใจหรือ MOU กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานประกอบการภาคเอกชน และส่วนราชการ รวมมากกว่า ๓๐ แห่ง มหาวิทยาลัยภาคกลางได้เข้าร่วมจัด โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดย ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ได้เริ่มจัดโครงการ ณ โรงเรียนวัดวังไผ่ ชุมชนบ้านวังไผ่ ตำบลนครสวรรค์ตก ๑ โครงการ ปีต่อมาขยายเป็น ๑๐ โครงการ ๑๐ ชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ได้ขยายเป็น ๑๔ โครงการ ๑๔ ชุมชน และปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ได้ขยายเป็น ๒๐ โครงการ ๒๐ ชุมชน ผลการดำเนินงาน โครงการนี้ของมหาวิทยาลัยภาคกลางได้รับการคัดเลือกให้เป็น BEST PRACTICE ของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง เป็นตัวแทนของเครือข่ายไปนำเสนอผลงานร่วมกับส่วนกลาง ณ กรุงเทพฯ


ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภาคกลาง เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการอนุรักษ์ และเผยแผ่ศิลปวัฒนธรรมของไทย ให้ยั่งยืนสืบไป จึงได้จัดตั้ง "หอศิลปวัฒนธรรม" เพื่อรวบรวมงานด้านศิลปวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ และได้จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้านดนตรี นาฏศิลป์ งานหัตถกรรม งานภาพวาด และงานการแสดง โดยจัดเป็นโครงการ “ลานวัฒนธรรม” จัดแสดงและสาธิตพิธีการและกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ตลอดปีการศึกษา



สารอธิการบดี

ดร.สราญภัทร สถิรางกูร

Time - The Value of Now

          Live and Learn : Build and Support
          Wish and Do : Think and Perform
          Plan and Act : Read and Create
          Promise and Keep : Form and Nurture
          Love and Cherish : Start and Finish


Don't count every hour in the day
Make every hour in the day counts

WE DON'T HAVE AN ETERNITY TO DREAM.

อัตลักษณ์ เอกลักษณ์

อัตลักษณ์
     มหาวิทยาลัยเพื่อผลิตผู้ประกอบการชั้นนำ

เอกลักษณ์
     คุณวุฒิ : ให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในศาสตร์ที่ศึกษาอย่างลึกซึ้งจน สามารถนำไปปฏิบัติและถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     คุณภาพ : ให้บัณฑิตเป็นผู้มีคุณภาพทั้งในด้านการนำความรู้ไปใช้อย่างมีหลักการและเหตุผล และในด้านการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมอย่างชอบธรรม
     คุณธรรม : ให้บัณฑิตเป็นผู้มีความมั่นคงในคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ

ปรัชญา ปณิธาน

01ให้มีความรอบรู้ทางวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นคนดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ รู้จักนำวิชาความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้ทันยุคทันสมัย การตัดสินใจที่ถูกต้อง สร้างสมประสบการณ์

02ให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สัตย์ซื่อเที่ยงธรรม ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ มีมรรยาทอ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวเหมาะสมในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีศีลธรรม รักความดี ยึดมั่นศาสนา รักษาวัฒนธรรมไทย

03ให้มีความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ ภักดีต่อองค์การ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและสังคม มีความเสียสละต่อส่วนรวม สังคมและประเทศชาติ รู้จักพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านสติปัญญา สุขภาพกายใจ ส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย มีน้ำใจสูงส่ง

04ปกป้องชาติ บำรุงพระศาสนา รักษาพระมหากษัตริย์ มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข มีความจริงใจเข้าร่วมในการปกครองชาติบ้านเมืองด้วยวิถีทางของประชาธิปไตย

พันธกิจ

01ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญเพื่อสนองความต้องการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สร้างหลักสูตรที่มีความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

02สร้างผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรม ธุรกิจ และเทคโนโลยี ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

03ส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่สืบไป

04ให้บริการด้านวิชาการแก่บุคคลภายนอกเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้

วัตถุประสงค์

01เพื่อแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และลดปัญหาไม่มีสถานที่เรียนของ ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและอาชีพ

02เพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชนในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน โดยเน้นการผลิตคนให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสืบไป

03เพื่อเป็นแหล่งให้การศึกษาวิชาชีพชั้นสูง เป็นแหล่งค้นคว้าวิจัย ส่งเสริมและให้บริการด้านวิชาการ สร้างค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม

04เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม

05เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ ในการนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

06เพื่อปฏิบัติภารกิจหลัก ได้ในการผลิตบัณฑิต ให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการค้นคว้าการวิจัย การบริหารทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการ

แผนยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ ๑

พัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับสากลตามความต้องการของตลาดแรงงานและมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

ยุทธศาสตร์ที่ ๒

ส่งเสริมงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และงานวิชาการทุกประเภทที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการประกอบการ การพัฒนาท้องถิ่น และสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ ๓

ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ ๔

ส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ ๕

พัฒนาการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน เอกลักษณ์ และการประกันคุณภาพ

สภามหาวิทยาลัย

รศ.ดร.ชลอ ว่องวัฒนาภิกุล

นายกสภามหาวิทยาลัย

Doctorate D'Universite' de nice (France)

ดร.สราญภัทร สถิรางกูร

กรรมการสภามหาวิทยาลัย (อธิการบดี)

Ph.D. Higher Education, Oklahoma State University

รศ.ศศนันท์ วิวัฒนชาติ

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

พศ.ม. การตลาด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

Ph.D System Science, Kanazawa University

ศ.ดร.ศุภมิตร จิตตะยโศธร

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

Ph.D Computer Science, The University of Queensland (Australia)

ศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

ปริญญาเอกทางกฎหมาย J.S.D., Yale University

รศ.ดร.กิตติชัย ลวันยานนท์

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

Ph.D. (Artificial Intelligence), The University of Wales College of Cardiff

ศ.ดร.จุมพต สายสุนทร

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

รศ.ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

นางสาวรุจกา สถิรางกูร

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

M.Sc. (Computer Science), Oklahoma City University

ว่าที่ร้อยตรีกันหา พฤทธิ์พงศกร

กรรมการสภามหาวิทยาลัย

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ), มหาวิทยาลัยภาคกลาง

นายภาณุ ปัณฑุกำพล

เลขานุการสภามหาวิทยาลัย

ข้อบังคับ ระเบียบมหาวิทยาลัย

มาตรา ๑๙การแบ่งส่วนงานและการจัดระบบบริหารงานภายใน ให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับของสภาสถาบัน

มาตรา ๓๔(๓)ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรทุนออกเป็นกองทุนประเภทต่าง ๆ

มาตรา ๓๔(๑๙)ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสถาบันอุุดมศึกษาเอกชีนเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง

มาตรา ๓๔(๒๓)ระบบประกันคุณภาพภายในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม

มาตรา ๓๘การประชุมและการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ

มาตรา ๔๘หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณาจารย์

มาตรา ๔๘การพ้นจากตำแหน่งคณาจารย์

มาตรา ๔๙คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ

มาตรา ๕๖การกำหนดปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งและเกียรตินิยมอันดับสอง

มาตรา ๕๗ประกาศนียบัตรอนุปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิต

มาตรา ๕๙การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยประจำตำแหน่ง

มาตรา ๕๙ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง

มาตรา ๖๑การบริหารกองทุน

มาตรา ๗๙การมิให้ผู้อื่นใช้ชื่อ ตรา สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสถาบันนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อบังคับ

มาตรา ๙๘การสอบสวนตามมาตรา ๙๖ (อธิการบดี) และมาตรา ๙๗ (คณาจารย์)