ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : นิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Laws Program in Laws

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : นิติศาสตรบัณฑิต (นิติศาสตร์)
ชื่อย่อ : น.บ. (นิติศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Laws (Laws)
ชื่อย่อ : LL.B (Laws)

ปรัชญา ปณิธาน

หลักสูตร มีมีปรัชญาเป็นในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความดี ความสามารถ จรรยาบรรณ มรรยาท ศีลธรรม รับผิดชอบ เสียสละ พัฒนาตน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

  1. ให้มีความรอบรู้ทางวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นคนดี มีคุณธรรมซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ รู้จักนำวิชาความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้ทันยุคทันสมัย การตัดสินใจที่ถูกต้อง สร้างสมประสบการณ์
  2. ให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สัตย์ซื่อเที่ยงธรรม ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์มีมรรยาทอ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวเหมาะสมในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีศีลธรรม รักความดียึดมั่นศาสนา รักษาวัฒนธรรมไทย
  3. ให้มีความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ ภักดีต่อองค์การ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและสังคม มีความเสียสละต่อส่วนรวม สังคมและประเทศชาติ รู้จักพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านสติปัญญา สุขภาพกายใจ ส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย มีน้ำใจสูงส่ง
  4. ปกป้องชาติ บำรุงพระศาสนา รักษาพระมหากษัตริย์ มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข มีความจริงใจเข้าร่วมในการปกครองชาติบ้านเมืองด้วย วิถีทางของประชาธิปไตย

วัตถุประสงค์

หลักสูตรมีหลักการเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชากฎหมายทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถนำไปประกอบอาชีพทางกฎหมายในหน่วยงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพทั้งงานราชการและงานเอกชน

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชากฎหมายทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถนำไปประกอบอาชีพทางกฎหมายในหน่วยงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพทั้งงานราชการและงานเอกชน
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตนิติศาสตร์ที่ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานต่างๆ โดยทั้งนี้ให้บัณฑิตสามารถรู้ เข้าใจการใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม กอปรด้วยจริยธรรม
  3. เพื่อให้มีความรู้ความสามารถศึกษาวิชากฎหมายในขั้นสูงยิ่งขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศและนำวิชานิติศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในวงการงานยุติธรรม สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
  4. เพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาการของนักศึกษา คณาจารย์และสถาบัน
  5. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ศึกษาได้ตระหนักถึงจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อก่อให้เกิดความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
  • เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย อยู่ในศีลธรรมอันดี
  • ไม่เป็นโรคร้ายแรง มีใบรับรองแพทย์ที่ให้ความเห็นว่า สุขภาพเหมาะสมสำหรับการเข้าศึกษา

การเทียบโอนหน่วยกิต

การเทียบโอนหน่วยกิต และรายวิชา ต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยภาคกลาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยการภาคกลาง ทั้งนี้สอดคล้องกับประกาศหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยแบ่งวิธีการเทียบโอน 2 แบบ ดังนี้

  1. การเทียบโอนผลการเรียนรู้
    การขอเทียบโอนหน่วยกิตของรายวิชาในระดับอุดมศึกษา จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการและ ก.พ.ให้การรับรอง ให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าศึกษาที่ขอเทียบโอนหน่วยกิต โดยนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคกลาง
  2. การเทียบโอนจากประสบการณ์
    การเทียบโอน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากการศึกษานอกระบบ และหรือการศึกษาตามอัธยาศัยของนักศึกษา เพื่อนับเป็นหน่วยกิตเทียบเท่ารายวิชาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคกลาง ทั้งนี้หลักเกณฑ์การเทียบโอนจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ และระเบียบมหาวิทยาลัยภาคกลาง ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี

โครงสร้างหลักสูตร

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต โดยมีระยะเวลาในหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
    1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
    2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
    3. กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 12 หน่วยกิต
    4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
    1. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 81 หน่วยกิต
    2. กลุ่มวิชาชีพเลือก 12 หน่วยกิต
  3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวม 129 หน่วยกิต

อาชีพหลังจบการศึกษา

  • เจ้าหน้าที่สินเชื่อ
  • ที่ปรึกษากฎหมายภาษีอากร
  • ที่ปรึกษากฎหมายประจำบริษัท
  • นิติกรประจำหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
  • เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ (ปลัดอำเภอ)
  • นักการฑูต
  • เจ้าพนักงานบังคับคดี
  • เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
  • พนักงานคุมประพฤติ
  • เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
  • เจ้าหน้าที่ศาล
  • ตำรวจ
  • ทนายความ
  • อัยการ
  • ผู้พิพากษา