คณะวิทยาศาสตร์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2537 เพื่อรองรับนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์ที่มีความต้องการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ โดยประกอบด้วย 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2537 เพื่อรองรับนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์ที่มีความต้องการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ โดยประกอบด้วย 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
หน่วยงานที่สนับสนุนการผลิตบัณฑิตเพื่อเป็นผู้ประกอบการชั้นนำ และดำเนินงานทางด้านการบริหารงานเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่สถาบันการเรียนรู้
คณะวิทยาศาสตร์มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะ เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการ ปฏิบัติงาน ตลอดจนการพัฒนาคณะให้ สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการของ มหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์มีการออกแบบหลักสูตรให้มีความสอดคล้องตามกรอบ TQF และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา โดยระบบการเปิด-ปิด หลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติของมหาวิทยาลัย
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต, วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
Bachelor of Science, B.S. (Computer Science)
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต โดยมีระยะเวลาในหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัย สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการจัดห้องปฏิบัติการหรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัย หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรือการผลิตงานสร้างสรรค์ เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในทุกปีการศึกษา และได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในทุกปีการศึกษา
01 | การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยภาคกลาง |
02 | การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการโดยใช้ระบบคลาวด์ |
03 | การศึกษากลยุทธ์และปัจจัยที่มีผลต่อการทำ SEO (Search Engine Optimization) |
04 | การศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบ E-Learning ของมหาวิทยาลัยภาคกลาง |
05 | การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากรในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ |
06 | การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) มาใช้งานในแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ |
07 | การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาด้วย Internet Of Things |
08 | การใช้เหตุผลเชิงตรรกะของระบบปัญญาประดิษฐ์กับการเล่นเกม |
09 | พฤติกรรมการใช้งานโปรแกรมสังคมออนไลน์ (Social Network) ของกลุ่มประชากรในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ |
10 | การศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของประชากรในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ |
คณะวิทยาศาสตร์โดยคณะกรรมการบริการวิชาการ ได้จัดทำแผนและกำหนดตัวชี้วัด ความสำเร็จที่สะท้อนวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ของคณะฯ และเป้าประสงค์ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งแผนการบริการวิชาการ มีเป้าหมายในการ ให้บริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและชุมชน โดยมีลักษณะเป็นการให้เปล่า
01 | โครงการอบรมการพัฒนาโปรแกรมช่วยสอน (CAI) ในการส่งเสริมการอ่านและการเขียน |
02 | โครงการอบรมการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่านและการเขียนให้กับคณะครูโรงเรียนประถมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยภาคกลาง |
03 | โครงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการปลูกและจาหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์ และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในชุมชนบ้านท่าซุด |
04 | การพัฒนาทักษะอาชีพและแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์น้าหยดชุมชนหนองพรมหน่อ ณ ร.ร.วัดหนองพรมหน่อ ต.เนินกว้าว อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ |
คณะวิทยาศาสตร์ กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ด้วยการแต่งตั้ง คณะกรรมการในการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการกำหนดกิจกรรม เพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู และเผยแพร่ศิลปะและ วัฒนธรรม ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะฯ มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับ โครงการหรือกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม