ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจบัณฑิต
ชื่อย่อ : บธ.บ.
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Business Administration
ชื่อย่อ : B.B.A.
กลุ่มวิชาการบริหารการเงินและการลงทุน
กลุ่มวิชาการบริหารการตลาดและโลจิสติกส์
กลุ่มวิชาการบริหารงานธุรกิจและบุคลากร
กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปรัชญา ปณิธาน

หลักสูตร มีปรัชญาเป็นในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความดี ความสามารถ จรรยาบรรณ มรรยาท ศีลธรรม รับผิดชอบ เสียสละ พัฒนาตน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

  1. ให้มีความรอบรู้ทางวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นคนดี มีคุณธรรมซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ รู้จักนำวิชาความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้ทันยุคทันสมัย การตัดสินใจที่ถูกต้อง สร้างสมประสบการณ์
  2. ให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สัตย์ซื่อเที่ยงธรรม ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์มีมรรยาทอ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวเหมาะสมในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีศีลธรรม รักความดียึดมั่นศาสนา รักษาวัฒนธรรมไทย
  3. ให้มีความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ ภักดีต่อองค์การ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและสังคม มีความเสียสละต่อส่วนรวม สังคมและประเทศชาติ รู้จักพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านสติปัญญา สุขภาพกายใจ ส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย มีน้ำใจสูงส่ง
  4. ปกป้องชาติ บำรุงพระศาสนา รักษาพระมหากษัตริย์ มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข มีความจริงใจเข้าร่วมในการปกครองชาติบ้านเมืองด้วย วิถีทางของประชาธิปไตย

วัตถุประสงค์

คณะบริหารธุรกิจมุ่งผลิตบัณฑิตด้านการบริหารธุรกิจอย่างมีคุณภาพมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ทาง วิชาการ วิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม รับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาประเทศชาติสู่สากลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารธุรกิจ และการทำงานวิจัยที่สามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทางด้านบริหารธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและประเทศชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณด้านการบริหารธุรกิจ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารธุรกิจ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ รวมไปถึงถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นๆให้แก่สังคมชุมชนและท้องถิ่น
  3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาการด้านวิชาชีพบัญชีให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในวงการวิชาชีพบัญชีและสามารถประยุกต์วิชาบัญชี นำไปใช้งานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการปรับใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมด้านธุรกิจเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
  • เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย อยู่ในศีลธรรมอันดี
  • ไม่เป็นโรคร้ายแรง มีใบรับรองแพทย์ที่ให้ความเห็นว่า สุขภาพเหมาะสมสำหรับการเข้าศึกษา

การเทียบโอนหน่วยกิต

การเทียบโอนหน่วยกิต และรายวิชา ต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยภาคกลาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยการภาคกลาง ทั้งนี้สอดคล้องกับประกาศหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยแบ่งวิธีการเทียบโอน 2 แบบ ดังนี้

  1. การเทียบโอนผลการเรียนรู้
    การขอเทียบโอนหน่วยกิตของรายวิชาในระดับอุดมศึกษา จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการและ ก.พ.ให้การรับรอง ให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าศึกษาที่ขอเทียบโอนหน่วยกิต โดยนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคกลาง
  2. การเทียบโอนจากประสบการณ์
    การเทียบโอน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากการศึกษานอกระบบ และหรือการศึกษาตามอัธยาศัยของนักศึกษา เพื่อนับเป็นหน่วยกิตเทียบเท่ารายวิชาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคกลาง ทั้งนี้หลักเกณฑ์การเทียบโอนจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ และระเบียบมหาวิทยาลัยภาคกลาง ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี

โครงสร้างหลักสูตร

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต โดยมีระยะเวลาในหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
    1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
    2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
    3. กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 12 หน่วยกิต
    4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
    1. กลุ่มวิชาแกน 30-36 หน่วยกิต
    2. กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 33-42 หน่วยกิต
    3. กลุ่มวิชาเอกเลือก 12-15 หน่วยกิต
  3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวม 120 หน่วยกิต

อาชีพหลังจบการศึกษา

  • นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจส่วนตัว
    การเรียนบริหารจะทำให้เรารู้หลักพื้นฐานในการประกอบธุรกิจต่างๆ เช่น หลักการวางแผน การจัดการ การบริหารทรัพยากรบุคคล การจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งขั้นตอนและหลักการเหล่านี้จะทำให้เรามีพื้นความรู้ในสามารถสร้างธุรกิจของตัวเองได้
  • นักการธนาคาร/นักลงทุน
    สำหรับคนที่เรียนจบคณะบริหาร สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คุณจะสามารถบริหารเงินอย่างสร้างสรรค์ รู้หลักโครงสร้างการบริหารสถาบันการเงินและตลาดหลักทรัพย์ หลักการลงทุน นโยบายการเงินการคลัง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานบริการด้านการเงิน บริหารสินเชื่อ วิเคราะห์หลักทรัพย์ งานการธนาคาร งานลงทุน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • นักการตลาด
    สาขาการตลาด จะทำให้คุณเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภค มีการวางแผนการตลาดอย่างสร้างสรรค์ ฝึกวิจัยการตลาดและการส่งเสริมการขาย พร้อมทั้งใช้เทคโนโลยีในการวางแผนทางการตลาด ทำงานวิจัยการตลาด บริหารลูกค้าสัมพันธ์ และงานการขายอื่นๆ ซึ่งสาขานี้ถือเป็นงานที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดงานอย่างมากในปัจจุบันรวมทั้งเป็นสายงานที่มีค่าตอบแทนสูงอีกสาขาหนึ่ง
  • พนักงานฝ่ายบุคคล
    ในการเรียนคณะบริหารธุรกิจ สิ่งสำคัญที่จะได้ในหลักการเบื้องต้นทุกอย่างคือ เรื่องการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณภาพ จัดการฝึกอบรม พัฒนา ประเมินผลงานบุคคลทุกหน่วยงานในองค์กร เพื่อสามารถวางแผนกำลังคน จ่ายค่าตอบแทน และทำแรงงานสัมพันธ์ได้ ซึ่งอาชีพที่ต่อยอดจากการเป็นพนักงานฝ่ายบุคคล คือ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ผู้จัดการแผนกการจ้างงาน เป็นต้น
  • ผู้บริหาร/ผู้จัดการ ในองค์กรต่างๆ
    ด้วยศาสตร์ความรู้ที่หลากหลายครอบคลุมการบริหารและการจัดการ ทำให้ตำแหน่งงานของผู้ที่เรียนจบคณะนี้มีไม่จำกัดโดยผู้ที่จบจากคณะบริหารธุรกิจสามารถทำงานในตำแหน่งผู้บริหารหรือผู้จัดการในองค์กรเอกชนหรือหน่วยงานราชการได้ ทุกภาคส่วน
  • Business Analyst (นักวิเคราะห์ธุรกิจ)
    ตำแหน่งนักวิเคราะห์ธุรกิจ คือ คนทืทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กรและการดำเนินธุรกิจ ทั้งข้อมูลจริงและสมมุติฐานแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปสู่ระบบหรือกระบวนการแก้ไขปัญหาต่อไป รวมถึงการให้คำปรึกษา
  • Customer Service Rep (งานบริการลูกค้า)
    งานนี้มีความหลากหลายตั้งแต่พนักงาน call -center ไปจนถึงเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าที่จะได้รับโอกาสที่ดีไปจนถึงการจัดการช่วยเหลือผู้คนและแก้ไขปัญหาโดยต้องมีทักษะที่สำคัญ คือ การจัดการกับความขัดแย้งและการแก้ปัญหาเมื่อผู้คนมีคำถามส่งเข้ามาปรึกษา รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าให้เป็นที่ไว้วางใจ
  • Administrative Assistant (ผู้ช่วยผู้บริหาร)
    ตำแหน่งนี้ต้องการคนที่มีความเข้าใจในเนื้องานของบริษัทที่เป็นข้อมูลภายในอย่างลึกซึ้ง และต้องมีความฉลาดในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงการติดต่อประสานงานและมีทักษะการติดต่อสื่อสารกับคนภายในบริษัทอย่างยอดเยี่ยมขณะที่ยังคงรักษามารยาทอันดีงามได้อยู่แม้จะต้องเผชิญกับสภาวะความกดดัน โดยตำแหน่งนื้ถือว่ามีมูลค่าแก่บริษัทที่ต้องการตัวราวกับคุณเป็นทองคำ
  • Recruiter (พนักงานสรรหาบุคคล)
    ตำแหน่งพนักงานสรรหาบุคคล มีหน้าที่คัดกรองผู้สมัครเบื้องต้น ทดสอบด้วยเครื่องมือวิธีการต่างๆ ตรวจสอบบุคคลอ้างอิง และเช็กประวัติย้อนหลัง รวมถึงการกลั่นกรองผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก แจ้งผลสัมภาษณ์ ยื่นข้อเสนอจ้างงาน และติดตามความคืบหน้าหลังเข้าทำงาน
  • Consultant (ผู้ให้คำปรึกษา)
    ตำแหน่งผู้ให้คำปรึกษา ทำหน้าที่ คอยแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า โดยมีลักษณะเฉพาะคือการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่บริษัทได้อย่างมั่นคงผ่านการพิจารณาอย่างละเอียด ถ้าคุณมีความสนใจและมีรากฐานอันมั่นคงในการมุ่งมั่นให้คำปรึกษา