ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Computer Science
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ชื่อย่อ : วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม :Bachelor of Science (Computer Science)
ชื่อย่อ : B.S. (Computer Science)
ปรัชญา ปณิธาน
หลักสูตร มีปรัชญาเป็นในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความดี ความสามารถ จรรยาบรรณ มรรยาท ศีลธรรม รับผิดชอบ เสียสละ พัฒนาตน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
- ให้มีความรอบรู้ทางวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นคนดี มีคุณธรรมซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ รู้จักนำวิชาความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้ทันยุคทันสมัย การตัดสินใจที่ถูกต้อง สร้างสมประสบการณ์
- ให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สัตย์ซื่อเที่ยงธรรม ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์มีมรรยาทอ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวเหมาะสมในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีศีลธรรม รักความดียึดมั่นศาสนา รักษาวัฒนธรรมไทย
- ให้มีความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ ภักดีต่อองค์การ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและสังคม มีความเสียสละต่อส่วนรวม สังคมและประเทศชาติ รู้จักพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านสติปัญญา สุขภาพกายใจ ส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย มีน้ำใจสูงส่ง
- ปกป้องชาติ บำรุงพระศาสนา รักษาพระมหากษัตริย์ มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข มีความจริงใจเข้าร่วมในการปกครองชาติบ้านเมืองด้วย
วิถีทางของประชาธิปไตย
วัตถุประสงค์
หลักสูตรมีหลักการที่จะผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความรู้ มีทักษะ จริยธรรม มาร่วมพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล กระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค สนองตอบการพัฒนาธุรกิจให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญทางด้านคอมพิวเตอร์ ในการสนองความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนักวิเคราะห์ระบบ นักโปรแกรม และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้ทันสมัยและเหมาะสมกับการทำงาน
- เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในวงการอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
- เพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาการของนักศึกษา คณาจารย์และสถาบัน
- เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ศึกษาได้ตระหนักถึงจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อก่อให้เกิดความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
- เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย อยู่ในศีลธรรมอันดี
- ไม่เป็นโรคร้ายแรง มีใบรับรองแพทย์ที่ให้ความเห็นว่า สุขภาพเหมาะสมสำหรับการเข้าศึกษา
การเทียบโอนหน่วยกิต
การเทียบโอนหน่วยกิต และรายวิชา ต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยภาคกลาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยการภาคกลาง ทั้งนี้สอดคล้องกับประกาศหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยแบ่งวิธีการเทียบโอน 2 แบบ ดังนี้
- การเทียบโอนผลการเรียนรู้
การขอเทียบโอนหน่วยกิตของรายวิชาในระดับอุดมศึกษา จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการและ ก.พ.ให้การรับรอง ให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าศึกษาที่ขอเทียบโอนหน่วยกิต โดยนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคกลาง
- การเทียบโอนจากประสบการณ์
การเทียบโอน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากการศึกษานอกระบบ และหรือการศึกษาตามอัธยาศัยของนักศึกษา เพื่อนับเป็นหน่วยกิตเทียบเท่ารายวิชาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคกลาง ทั้งนี้หลักเกณฑ์การเทียบโอนจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ และระเบียบมหาวิทยาลัยภาคกลาง ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี
โครงสร้างหลักสูตร
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต โดยมีระยะเวลาในหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 12 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 42 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเอก 24 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวม 120 หน่วยกิต
อาชีพหลังจบการศึกษา
- นักออกแบบแอปพลิเคชั่น (Application Designer)
- นักออกแบบเว็บ (Web Designer)
- นักพัฒนาเกม (Game Developer)
- นักข่าวสายไอที (IT Journalist)
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst)
- นักเขียนโปรแกรมหรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (Programmer/Software Developer)
- วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
- ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)
- ผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ (Web Administrator)
- ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Manager)
- ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network Administrator)
- ผู้จัดการฐานข้อมูล (Database Manager)