ข้อมูลทั่วไป

มหาวิทยาลัยภาคกลางได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2539 จัดตั้งบัณฑิตมหาวิทยาลัยเพื่อเปิดการสอนในระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) ในปี 2540 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (M.P.A.) และเปิดสอนหลักสูตรอื่นๆ อีกจนถึงระดับปริญญาเอก

ปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ

ปรัชญา
ส่งเสริมการศึกษาระดับสูง ผลิตบัณฑิตที่มีคุณวุฒิ คุณภาพ คุณธรรม
ปณิธาน
พัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยให้เป็นแหล่งวิทยาการสำหรับสังคม มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตสาธารณะ

วัตถุประสงค์

  1. จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาของชาติ และความต้องการของท้องถิ่น
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำ มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญขั้นสูงในวิชาชีพ และวิชาการ มีทักษะในการบริหารจัดการและการให้บริการ มีวินัย ศีลธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ ตลอดจนมีความสามารถสื่อสารในระดับนานาชาติ
  3. เป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้ การวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนาความรู้ การแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้
  4. เป็นแหล่งบริการวิชาการแก่สังคม
  5. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

แผนยุทธศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัยได้ทบทวนทิศทางการพัฒนาคณะนิติศาสตร์ เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์คณะฯ โดยวิเคราะห์ความสอดสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ และคณะฯ ได้จัดแผนปฏิบัติงาน และการบริหารความเสี่ยง โดยคณาจารย์ระดมความคิดเห็นในการวิเคราะห์ SWOT และจัดทำแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ แผนยุทธศาสตร์คณะฯครอบคลุมทั้ง 5 พันธกิจ ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และด้านการบริหาร ซึ่งสอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัย

  1. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับสากลตามความต้องการของตลาดแรงงานและมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
  2. ส่งเสริมงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และงานวิชาการทุกประเภทที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการประกอบการ การพัฒนาท้องถิ่น และสังคม
  3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  4. ส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
  5. พัฒนาการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน เอกลักษณ์ และการประกันคุณภาพ

รายละเอียด

การเรียนการสอน

บัณฑิตวิทยาลัย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตรฯ มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถด้านการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ และสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง โดยบัณฑิตวิทยาลัยมีการกำหนดนโยบายด้านการเรียนการสอน

  1. มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่ทุกวิชาต้องมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มาใช้ โดยทุกปีต้องมีจำนวนวิชาที่ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการพัฒนาทางวิชาการ
  2. มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการได้ปฏิบัติจริง
  3. มุ่งเน้นด้านการให้บริการทางการศึกษาโดยนักศึกษาเป็นสำคัญ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นคนดีคนเก่ง มีความสุข ประกอบกับเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามโดยการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มุ่งพัฒนารูปแบบกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษามีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
  4. จัดทำรายงานสรุปผลด้านการเรียนการสอนเมื่อสิ้นภาคการศึกษา

รายละเอียด

หลักสูตรที่เปิดสอน

  1. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บธ.ม.
    Master of Business Administration, M.B.A.
  2. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, รป.ม.
    Master of Public Administration, M.P.A.

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก. (มีวิทยานิพนธ์)

  1. หมวดวิชาศึกษาบังคับ 33 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
  3. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผน ข. (ไม่มีวิทยานิพนธ์)

  1. หมวดวิชาศึกษาบังคับ 30-33 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเลือก 12-15 หน่วยกิต
  3. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 3 หน่วยกิต
  4. สอบประมวลความรู้ข้อเขียน
  5. สอบประมวลความรู้ปากเปล่า
รวม 48 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ และโรคที่จะเบียดเบียนหรือขัดขวางต่อการศึกษา
  • ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงาน ก.พ. รับรอง
  • มีผลการเรียนระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในวิชาเอก ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป และคณะกรรมการประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษาพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
  • กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีพื้นความรู้ในหมวดวิชาปรับพื้นฐานหรือเทียบเท่าจะต้องศึกษาเพิ่มเติมบางวิชา เพื่อเป็นการปรับพื้นฐานทางด้านวิชาการ โดยไม่นับหน่วยกิต

MBA  MPA

การวิจัย

บัณฑิตวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัย สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการจัดห้องปฏิบัติการหรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัย หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรือการผลิตงานสร้างสรรค์ เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในทุกปีการศึกษา และได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในทุกปีการศึกษา

งานวิจัย

01พฤติกรรมการออมของประชาชน ในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์

02สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคกลาง

03ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารเทศบาลตำบลหนองเบน จังหวัดนครสวรรค์

04ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางนครสวรรค์

05ปัญหาการดำเนินงานการเงินบัญชี และ พัสดุของวิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี

06ปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช

การบริการวิชาการ

บัณฑิตวิทยาลัยมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นรูปธรรม มีภารกิจหลักในการนำความรู้และประสบการณ์ในการเรียนการสอนและการวิจัยไปเผยแพร่ในรูปแบบของการให้บริการแก่ชุมชนโดยตรง ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการบริการวิชาการ

โครงการบริการวิชาการ

01โครงการอบรมเรื่อง บทบาทของตารวจกับเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง ณ ศูนย์ฝึกอบรมตารวจภูธร ภาค 6 อ.เมืองฯ จ.นครสวรรค์

02โครงการอบรมเรื่อง บทบาทของตารวจกับเศรษฐกิจและสังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง ณ ศูนย์ฝึกอบรมตารวจภูธร ภาค 6 อ.เมืองฯ จ.นครสวรรค์

03โครงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการปลูกและจาหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์ และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในชุมชนบ้านท่าซุด

04การพัฒนาทักษะอาชีพและแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์น้าหยดชุมชนหนองพรมหน่อ ณ ร.ร.วัดหนองพรมหน่อ ต.เนินกว้าว อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

บัณฑิตวิทยาลัย มีการกำหนดและแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อรับผิดชอบด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในระดับคณะ มีหน้าที่ในการร่วมเป็นคณะกรรมการจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งในระดับคณะ/สาขาวิชา กำหนดแนวทางให้คณะ/สาขาวิชา จัดการเรียนการสอน การวิจัยและการดำเนินงานด้านกิจกรรมของนักศึกษา โดยให้บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมให้เผยแพร่กิจกรรมและบริการด้านศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน

โครงการและกิจกรรม

  • โครงการเอกลักษณ์ใจ
  • โครงการแห่เทียนจำนำพรรษา
  • โครงการวันพ่อแห่งชาติ
  • โครงการวันแม่แห่งชาติ
  • โครงการปฏิบัติธรรม
  • โครงการ UCT Open House
  • โครงการสัมมนาวิชาการ
  • โครงการสาธิตสื่อการเรียนการสอน
  • โครงการยอดอินทนิล
  • โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด